บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2
วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561
เวลา 08.30 - 11.30 น.
Knowledge (ความรู้)- ความหมายของการบริหารการศึกษา( Education Administration )
การบริหารการศึกษา แยกออกเป็น 2 คำ คือ การบริหาร และ การศึกษา
ความหมายของ “การบริหาร” มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ทั้งคล้ายๆกันและแตกต่างกัน คือ
* การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น
* การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
* การบริหาร คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
** จากความหมายของ “การบริหาร” พอสรุปได้ว่า “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้”
- ความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา
สรุปได้ว่า การบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารองค์กร สิ่งที่ต้องตระหนักหรือให้ความสำคัญ คือการบริหารงานบุคคล เพราะบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าในองค์กร ที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์กรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรที่ปฏิบัติงาน เสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ นั้นหมายถึงผู้บริหารจะต้องมีความรู้เรื่องการบริหารเป็นอย่างดี
- หลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารสถานศึกษา
หลักการบริหารงานบุคคล
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2545) ให้แนวคิดในการบริหารและการจัดการที่ดี เพื่อมาปรับใช้ในบริบทขององค์กรทางการศึกษา ในประเด็กดังนี้
1. การกำหนดจุดหมาย ผลที่คาดหวัง หรือภาพความสำเร็จของการบริหารและการจัดการที่ดี (Goal / Expected / Output)
2. กระบวนการบริหารและการจัดการที่ดี (Process)
3. ทรัพยากรในการบริหารจัดการที่ดี (Input / Resource)
4. ระบบควบคุม (Feedback / Control System)
5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารและการจัดการที่
- การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ (Science and arts)
ศาสตร์ เพราะ มีหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏีที่เชื่อถือได้ เกิดจากการศึกษาค้นคว้าเชิงวิทยาสาสตร์
ศิลป์ เพราะ ต้องทำงานกับคน ต้องเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ต้องฝึกให้ชำนาญ จึงต้องประยุกต์ใช้อย่างมีศิลป์
- ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสถานศึกษา

- ทัศนะดั้งเดิม (Classical viewpoint)
การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
การจัดการเชิงบริหาร
การบริหารแบบราชการ
1. การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific management)
Frederick. W. Taylor (เทเลอร์) บิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ ได้เสนอ หลัก 4 ประการ
1. ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ มีการแยกวิเคราะห์งาน
2. มีการวางแผนการทำงาน
3. คัดเลือกคนทำงาน
4. ใช้หลักการแบ่งงานกันทำระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ
2.ทฤษฏีการจัดการเชิงบริหาร (Administration management)
Henry Fayol : หลักการบริหาร 14 หลักการ และขั้นตอนการบริการ POCCC
Chester Barnard : ทฤษฏีการยอมรับอำนาจหน้าที่
Luther Gulick : ใช้หลักการของ Fayol
โดยใช้คำย่อว่า POSDCoRB ซึ่งเป็นหน้าที่ 7 ประการ
3.ทฤษฏีการบริหารแบบราชการ (Bureaucratic management)
Max Weber พัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ
1. มีกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อควบคุมการตัดสินใจ
2. ความไม่เป็นส่วนตัว
3. แบ่งงานกันทำตามความถนัด ความชำนาญเฉพาะทาง
4. มีโครงสร้างการบังคับบัญชา
5. ความเป็นอาชีพที่มั่นคง
6. มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ โดยมีกฎระเบียบรองรับ
7. ความเป็นเหตุเป็นผล
ทั้ง 3 ทฤษฏี มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
ความเหมือน
1. ด้านโครงสร้าง เน้นการแบ่งงานกันทำ การมีสายการบังคับบัญชา กำหนดหน้าที่ของการบริหาร เน้นหลักการ
2. ด้านผู้ปฏิบัติ เหมือนเครื่องจักร เน้นสิ่งจูงใจด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงในงาน ความต้องปรับตัวเข้ากับงาน
3. ด้านผู้นำ ให้ความสำคัญกับบทบาทผู้นำ เอกภาพ ระบบคุณธรรม เป้าหมายองค์กรสำคัญกว่าบุคคล
4. ด้านการตัดสินใจ เน้นความเป็นเหตุผล ประสิทธิภาพ กำไร
ความต่าง
Taylor : กำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุด The one best way
Fayol : เน้นหลักการ 14 หลักการ
Weber : เน้นระเบียบข้อบังคับ มีเกณฑ์ประเมินผลทัศนะ
- เชิงพฤติกรรม (Behavioral viewpoint)
ทฤษฏีพฤติกรรมระยะเริ่มแรก
การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น
ความเคลื่อนไหวเชิงมนุษยสัมพันธ์
หลักพฤติกรรมศาสตร์
1. ทฤษฏีพฤติกรรมระยะเริ่มแรก (Early behavioral theories)
Hugo Munsterberg บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรม ใช้หลักจิตวิทยาในการจำแนกคนงานให้เหมาะสมกับงาน
Mary Parker Follett นักปรัชญาแห่งเสรีภาพของบุคคล เน้นสภาพแวดล้อมในการทำงานและการมีส่วนร่วม
2. การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น (Hawthorne studies)
การทดลองของบริษัท เวสเทิร์น อิเล็กทริก ที่เมืองฮอว์ธร์น เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลของแสงไฟต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
ในช่วงท้ายของการทดลอง Elton Mayo ร่วมทำการทดลอง สรุปข้อค้นพบว่า
- เงินไม่ใช้สิ่งจูงใจสำคัญเพียงอย่างเดียว
- กลุ่มไม่เป็นทางการมีอิทธิพลต่อองค์การ
3. การเคลื่อนไหวเชิงมนุษยสัมพันธ์ (Human relation movement)
Abraham Maslow : มาสโลว์
ทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการ
Douglas McGregor : แมคเกรเกอร์
ทฤษฏี X และทฤษฏี Y
4. หลักพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral science approach)
เป็นการนำผลการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทฤษฏีเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ จากศาสตร์ สาขาต่างๆ เมื่อนำไปทดสอบแล้วจะเสนอให้นักบริหารนำไปใช้ เช่น ทฤษฏีการตั้งเป้าหมาย ของ Locke
- ทัศนะเชิงปริมาณ (Quantitative viewpoint)
1.การบริหารศาสตร์ (Management science)
มุ่งเพิ่มความมีประสิทธิผลในการตัดสินใจจากการใช้ตัวแบบคณิตศาสตร์และวิธีการเชิงสิติ ซึ่งแพร่หลายได้รวดเร็วเนื่องจากความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างซับซ้อนมากขึ้น
2. การบริหารปฏิบัติการ (Operation management)
- ยึดหลักการบริหารกระบวนการผลิตและให้บริการ
- กำหนดตารางการทำงาน
- วางแผนการผลิต
- การออกแบบอาคารสถานที่ การประกันคุณภาพ
- การใช้เทคนิคเครื่องมือต่างๆ เช่น เทคนิคการทำนายอนาคต
- การวิเคราะห์รายการ ตัวแบบเครือข่ายการทำงาน การวางแผนและควบคุมโครงการ
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (management Information System)
สารสนเทศบริหารศาสตร์ MIS เน้นการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร (Computer based information system : CBISs)
- ทัศนะร่วมสมัย (Contemporary viewpoint)
1. ทฤษฏีเชิงระบบ (System theory)
ระบบแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ระบบเปิดและระบบปิด ไม่ได้แยกออกจากกัน มีลักษณะอยู่ 9 ประการ
- มีปัจจัยป้อนเข้าจากภายนอก
- มีกระบวนการที่ก่อให้เกิดผลผลิต
- ปัจจัยป้อนออกเป็นผลผลิตหรือบริการ
- มีวงจรต่อเนื่อง
- มีการต่อต้านแนวโน้มสู่ความเสื่อมของระบบ
- ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการปรับตัว
- มีแนวโน้มสู่ความสมดุล
- มีแนวโน้มสู่คามซับซ้อน
- มีหลายเส้นทางเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมาย
2. ทฤษฏีการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency theory)
หลักการบริหารงานที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์หนึ่งๆ เท่านั้น ในสถานการณ์ที่ต่างไป ผู้บริหารอาจกำหนดหลักการจากการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของแต่ละสถานการณ์เพื่อกำหนดแนวทางให้เหมาะสมกับโครงสร้าง เป้าหมายและผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
3. ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่
ทฤษฏี Z ทฤษฏีการบริหารแบบญี่ปุ่น โดย William Ouchi โดยรวมหลักการบริหารแบบอเมริกันรวมกับแบบญี่ปุ่นมีหลักการสำคัญคือ ความมั่นคงในงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับผิดชอบปัจเจกบุคคล เลื่อนตำแหน่งช้า ควบคุมไม่เป็นทางการ แต่วัดผลเป็นทางการ สนใจภาพรวมและครอบครัว
Apply(การประยุกต์ใช้)
- สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับการบิหารได้
Assessment(การประเมิน)
self : มีการจดบันทึก
friend : สนใจและจดบันทึก
Teacher : มีการอธิบายเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น